การเขียนหนังสือมอบอำนาจ

รับทำบัญชี.COM | 2วิธีเขียนหนังสือมอบอำนาจเอกสารประกอบมีพยาน

Click to rate this post!
[Total: 1101 Average: 5]
ในหน้านี้

หนังสือมอบอํานาจ

แบบฟอร์ม หนังสือมอบอํานาจ ใบมอบอํานาจ

การมอบอำนาจ คือ การให้ตัวแทนมีอำนาจทำการแทนตัวการนั่นเอง และการแต่งตั้งตัวแทนนั้นจะแต่งตั้งโดยเปิดเผยหรือโดยปริยายก็ได้ (มาตรา 797 รรคสอง) และกิจการใดที่กฎหมาขบัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย การที่ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือย่อมหมาขถึงหนังสือหรือหลักฐานอันมีลามือชื่อของผู้เป็นตัวการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง (มาตรา 9)

หนังสือมอบอํานาจทั่วไป บุคคลทั่วไป

          การทำหนังสือมอบอำนาจมอบให้ตัวแทนเราไปดำเนินการอย่างไรก็ได้ซึ่งภาษากฎหมายเรียกว่าตัวแทนการทำตัวแทนซึ่งต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือคุณต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการใดที่ตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือคุณก็ต้องทำตามแบบมีหลักฐาน ไม่สามารถเขียนบอกกันเปล่าๆได้แต่ต้องทำเป็นหนังสือจะต้องมีแบบฟอร์มมีตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจนะครับ ทำที่วันที่ข้าพเจ้านาย กนาย ข  ชื่อในสัญญานี้เรียกว่าผู้มอบขอมอบอำนาจให้นายกนายขอเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ระบุชื่อผู้มอบให้ผู้รับมอบให้ชัดเจน ให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้า

วิธีเขียนหนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา

  • ส่วนที่ 1 ระบุให้ชัดเจนว่าเป็น “ หนังสือมอบอำนาจ ” และกรอกวันเดือนปี ที่เขียนหนังสือพร้อมสถานที่เขียน ให้ชัดเจน
  • ส่วนที่ 2 กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้มอบอำนาจ  ชื่อ-นามสกุล อายุ เชื้อชาติสัญชาติ และที่อยู่ตามบัตรประชาชน
  • ส่วนที่ 3 กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้รับมอบอำนาจ ชื่อ-นามสกุล อายุ เชื้อชาติสัญชาติ และที่อยู่ตามบัตรประชาชน
  • ส่วนที่ 4 กรอกรายละเอียดที่มีความประสงค์ตามที่ต้องการให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการ หรือธุรกรรมอื่น ๆ
  • ส่วนที่ 5 เป็นการลงลายมือชื่อ ทั้งผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ
  • ส่วนที่ 6 เป็นการลงลายมือ ทั้งพยานคนที่ 1 และพยานคนที่ 2  สุดท้าย ปิดอากรแสตมป์ให้เรียบร้อย
วิธีเขียนหนังสือมอบอำนาจ

วิธีเขียนหนังสือมอบอำนาจ

การทำหนังสือมอบอำนาจ ปกติจะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 797 เกี่ยวกับเรื่องการเป็นตัวแทนซึ่งในมาตรา 798 บอกว่ากิจการใดซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือแบบทำการมอบเพื่อกิจการนั้นต้องทำเป็นหนังสือการใดที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการนั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

หนังสือมอบอํานาจ ขนส่ง

          อธิบายก่อนว่าหนังสือมอบอํานาจ ขนส่ง ใบมอบอํานาจ โอนรถ เอกสารมอบอำนาจใช้ทำหน้าที่ในส่วนของงานทะเบียนเมื่อเราจะไปโอนรถ เจ้าของรถมักจะไม่ได้ไปด้วย ความที่จะโอนมาให้เรา คือ เจ้าของ หรือผู้ขายรถมักไม่ได้เดินทางไปที่ขนส่งด้วย แต่จะทำเอกสารให้เราไปยื่นที่ขนส่งเอง เพราะเมื่อไปถึงส่วนใหญ่ก็จะทำเรื่องไม่ได้เพราะมันไม่ใช่ชื่อรถเราเลยจำเป็นต้องหนังสือมอบอำนาจเพื่อแสดงว่า เจ้าของรถมอบให้เราไปทำอะไร เป็นต้น

มอบอำนาจโอนรถยนต์

มอบอำนาจโอนรถยนต์

หมายเหตุ : สิ่งที่จะคู่กับกับหนังสือมอบอำนาจ  คือ สำเนาบัตรประชาชน ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ พร้อมทั้ง บัตรประชาชานที่ใช้ ต้องไม่หมดอายุด้วย

หลักสำคัญในการเขียน หนังสือมอบอำนาจ 

  • ระบุให้ชัดเจนว่า ให้นาย ก นาย ข อายุเท่านี้ บ้านเลขที่นี้ (ระบุเลขบัตรประชาชนให้ชัดเจน) 
  • เป็นผู้มอบอำนาจ ให้นาย ก นาย ข นายนี้ อายุเท่านี้ สัญญา เชื้อชาติ บ้านเลขที่ ที่อยู่ตามบัตรประชาชน
  • เขียนระบุให้ชัดเจนว่าข้าพเจ้านายนี้ซึ่งต่อไปนี้ขอมอบอำนาจให้แก่นายนี้ทำกิจการดังต่อไปนี้ เช่น
    • มอบให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียน 
    • มอบให้ไปแจ้งที่ว่าการอำเภอ 
    • มอบให้นำหลักฐานไปส่ง 
    • มอบให้ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
    • มอบให้ไปซื้อสินค้า
    • มอบให้ไปทำนิติกรรมต่างๆ 
    • มอบให้ไปซื้อ- ขายรถยนต์  เป็นต้น 

ตัวอย่าง ข้าพเจ้าในที่นี้ซึ่งในสัญญานี้เรียกว่าผู้มอบขอมอบอำนาจ ขอมอบอำนาจให้นายนี้เป็นผู้มีอำนาจไปทำการซื้อขายรถยนต์ ไปทำการซื้อวัสดุก่อสร้าง ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนสัญญา มอบอำนาจให้ไปดำเนินการประชุมหรือนำส่งเอกสารต่างๆ เป็นต้น

เพิ่มเติม : หลังจากระบุไปทั้งหมดแล้วควรระบุต่อท้าย ด้วยว่า ให้มีอำนาจดำเนินการอื่นใด ๆ ทั้งสิ้นเพื่อให้กิจการดังกล่าวมาข้างต้นสำเร็จลุล่วงเพื่อเป็นการมอบอำนาจให้เสร็จสมบูรณ์

พยานในการทำหนังสือมอบอำนาจ 

          ก่อนที่จะระบุหรือเซ็นชื่อก็ต้องบอกว่า “ การใดที่ผู้รับมอบกระทำไปในวัตถุประสงค์ให้ถือว่าข้าพเจ้ากระทำได้ตัวเองทั้งสิ้น ” ในส่วนของพยานกฎหมายไม่ได้ระบุหรือบังคับไว้  แต่หากเพื่อเป็น การที่ทำให้เราสบายใจ หรือมั่นใจในการกระทำ ก็อาจจะระบุให้มีการเซ็นพยาน 1 คนหรือ 2 คน แต่ ในกรณีที่เซ็นชื่อไม่ได้ มีการประทับลายมือชื่ออันนั้นจึงควรที่จะมีการลงชื่อของพยานอีก 2 คนที่นี้ก่อน

หนังสือมอบอำนาจ อากรแสตมป์

          ถ้ามอบอำนาจเฉพาะเจาะจงให้ไปทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาทแต่ถ้ากรณีมอบ ถ้ามอบอำนาจกระทำการอื่นใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นการมอบอํานาจทั่วไป เช่น ซื้อขาย เช่า จำนำ จำนอง เช่าทรัพย์ให้ปิด 30 บาท  ซื้ออากรแสตมป์ได้ที่สรรพากรเขตสรรพากรพื้นที่สรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินบางครั้ง

หมายเหตุ : การติดอากรถือเป็นการเสียภาษีเข้ารัฐอีกประเภทหนึ่ง 

ทำไมต้องทำต้องทำหนังสือมอบอำนาจ

การทำหนังสือมอบอำนาจโดยปกติจะต้องทำเป็นตัวหนังสือภาษาไทยเพราะเอกสารที่จะใช้ติดต่อราชการกฎหมายระไว้ว่าให้ใช้เป็นภาษาไทย  ต้องระบุสถานที่ถามว่าทำที่ไหน เพื่อระบุขอบเขตอำนาจในการกำกระ หรือหากมีการดำเนินคดี ฉะนั้นสถานที่เขียนจึงสำคัญ ตัวอย่างเช่น เขียนที่บ้านเลขที่ เขียนที่สถานที่ราชการ เป็นต้น 

การมอบอำนาจ

การมอบอำนาจ

          วันที่เขียน ต้องระบุให้เรียบร้อย ห้ามกระทำการเขียนย้อนหลัง เนื่องจากตรงนี้ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายหากมีการดำนเนินคดี ตำรวจจะดูวันที่เขียนเป็นส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ว่าคุณมอบจริงหรือไม่ในวันนั้น คุณมอบที่ไหน แบบไหนยังไง เพราะบางครั้งเมื่อมีการเขียนมอบอำนาจ และมาทำนิติกรรมย้อนหลังทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นจะกลายเป็นทำหนังสือมอบอำนาจเท็จได้ เช่น การทำนิติกรรมเรียบร้อยแล้วมอบไปโอนที่ดิน มีการโอนเสร็จเรียบร้อยแล้วหนังสือมอบอำนาจดันลงวันที่วันรุ่งขึ้น ซึ่งถือว่าคุณไปทำเอกสารก่อนหน้าที่จะมีการมอบอย่างนี้ไม่ได้ เป็นต้น

หนังสือมอบอํานาจที่ดิน ใบมอบอํานาจที่ดิน

มอบอำนาจโอนที่ดิน

มอบอำนาจโอนที่ดิน

หนังสือมอบอํานาจกรมที่ดิน

หนังสือมอบอํานาจทั่วไป บุคคลทั่วไป

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป ตามมาตรา 801 วางหลักว่า ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทน ตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ

  • ขายหรือจำนอง อสังหาริมทรัพย์
  • ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป
  • ให้
  • ประนีประนอมยอมความ
  • ยื่นฟ้องต่อ ศาล
  • มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

          หากต้องการใช้กับตัวแทนที่ต้องทำหลายอย่าง เช่น ตั้งตัวแทนจัดการธุรกิจ ต้องจัดการหลายอย่างทั้งการติดต่อซื้อ ขายสินค้า การติดต่อพนักงานทำความสะอาดร้าน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นบางเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา 801 ถ้ามีการฝ่าฝืน การกระทำนั้นก็จะไม่ผูกพันตัวการและถ้ามีค่าใช้จ่ายในการกระทำการตัวการก็ไม่ ต้องจ่ายคืนให้ตัวแทน แต่อย่างไรก็ตามสามารถตกลงยกเว้นมาตรา 801 ให้ตัวแทนกระทำการได้ทั้งหมดโดยไม่มี ข้อจำกัดได้เพราะไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือตัวการอาจมอบอำนาจเฉพาะการให้ตัวแทน กระทำการตามวรรค2 ของมาตรา 801 ก็ได้

ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจ

          การมอบอำนาจอาจแสดงออกโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ เช่น เพื่อนซื้ออาหารมาฝากโดยที่เราไม่ได้ มอบอำนาจให้ (ไม่ใช่ตัวแทน) แต่เราก็ยอมรับไว้ เพื่อนก็กลายเป็นตัวแทนโดยการให้สัตยาบัน และไม่จำเป็นว่า จะต้องมอบอำนาจให้ไปชำระหนี้เป็นเงินเท่านั้น อาจเป็นการกระทำก็ได้ เพียงแค่มีการแสดงเจตนาทำนิติกรรม

ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอํานาจ

  • ตามมาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทน บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดั่งนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้
  • ตามมาตรา 798 กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย สัญญาตัวแทนไม่มีแบบทำด้วยวาจาก็ได้แต่ถ้ากฎหมายกำหนดว่ากิจการใดต้องทำเป็นหนังสือการตั้ง ตัวแทนไปทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือ

ตัวอย่าง เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ เวลาตั้งตัวแทนไปทำสัญญา เช่าทรัพย์ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือสัญญาประนีประนอมยอมความต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน ประนีประนอมก็ต้องทำเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน หากมีการฝ่าฝืนมาตรา 798 จะถือว่าสัญญาตัวแทนไม่เกิดขึ้น สิ่ง ที่ตัวแทนกระทำจะไม่ผูกพันตัวการ

การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนได้ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ โคยไม่จำเป็นต้องให้บุคคลผู้มอบอำนาจลงลายมือชื่อ

หมายเหตุ : แต่การลงชื่อในกรณีนี้ ผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงชื่อของตนเองไม่ใช่ลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำฟอร์มหนังสือมอบอํานาจขึ้นไว้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ขอจดทะเบียนที่จะใช้ยื่นคำขอจดทะเบียน ข้อความใดที่ผู้มอบอำนาจไม่ประสงค์จะมอบอำนาจใหแก่ตัวแทนให้ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวและลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกครั้ง

หนังสือมอบอํานาจ ขนส่ง

ดาวนโหลดหนังสือมอมอำนาจ ขนส่ง

หนังสือมอบอำนาจขนส่ง หน้า 1

หนังสือมอบอำนาจ ขนส่ง หน้า 2

ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจโอนรถ

ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจโอนรถ

ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจโอนรถ

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจโอนรถ

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจโอนรถ

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง ติดอากรแสตมป์กี่บาท

การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว  ปิดอากรแสตมป์  10  บาท  และการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการหลายครั้ง  ปิดอากรแสตมป์  30  บาท  เป็นการปิดอากรแสตมป์รายกระบวนงาน ดังนี้

  1. 1.การกระทำหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์  10  บาท
  2. 2.การกระทำมากกว่าหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์  30  บาท  เช่น  การมอบอำนาจให้โอนรถ  ถือว่ามี  1  กระบวนงาน  ปิดอากรแสตมป์  10   บาท  การมอบอำนาจให้โอนรถและเปลี่ยนเครื่องยนต์  เป็นการกระทำ  2  กระบวนงาน  ปิดอากรแสตมป์  30  บาท 
  3. 3.กรณีการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนกระทำการแยกกัน ให้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจ  โดยปิดอากรแสตมป์ใบมอบอำนาจคนละ  30  บาท  เช่น  สถาบันการเงินมอบอำนาจให้  นาย  ก.  นาย  ข.  นาย  ค.  มีอำนาจลงนามผูกพันดำเนินการแทน  กรณีนี้ต้องปิดอากรแสตมป์รวม  90  บาท

ดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจ

ใบมอบอำนาจ นิติบุคคล

หนังสือมอบอำนาจ นิติบุคคล word

หนังสือมอบอำนาจ นิติบุคคล pdf

ใบมอบอำนาจ บุคคลธรรมดา

หนังสือมอบอำนาจ บุคคลธรรมดา word

หนังสือมอบอํานาจ บุคคลธรรมดา pdf

ใบมอบอำนาจ ภาษาอังกฤษ

หนังสือมอบอํานาจทั่วไป ภาษาอังกฤษ word

หนังสือมอบอํานาจทั่วไป ภาษาอังกฤษ pdf

ใบมอบฉันทะ

ใบมอบฉันทะ

เอกสารประกอบ หนังสือมอบอํานาจทั่วไป

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์และหรือทะเบียนการค้า (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ฉบับล่าสุด (กรณีเป็นนิติบุคคล)

หนังสือมอบอํานาจ ติด อากรแสตมป์ กี่บาท

การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว  ปิดอากรแสตมป์  10  บาท  และการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการหลายครั้ง  ปิดอากรแสตมป์  30  บาท  เป็นการปิดอากรแสตมป์รายกระบวนงาน ดังนี้

  1. 1.การกระทำหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์  10  บาท
  2. 2.การกระทำมากกว่าหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์  30  บาท  เช่น  การมอบอำนาจให้โอนรถ  ถือว่ามี  1  กระบวนงาน  ปิดอากรแสตมป์  10   บาท  การมอบอำนาจให้โอนรถและเปลี่ยนเครื่องยนต์  เป็นการกระทำ  2  กระบวนงาน  ปิดอากรแสตมป์  30  บาท 
  3. 3.กรณีการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนกระทำการแยกกัน ให้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจ  โดยปิดอากรแสตมป์ใบมอบอำนาจคนละ  30  บาท  เช่น  สถาบันการเงินมอบอำนาจให้  นาย  ก.  นาย  ข.  นาย  ค.  มีอำนาจลงนามผูกพันดำเนินการแทน  กรณีนี้ต้องปิดอากรแสตมป์รวม  90  บาท

หนังสือมอบอํานาจ ภาษาอังกฤษ

POWER OF ATTORNEY

WRITTEN AT………………………………………………………..

DATE……..MONTH………….YEAR…………………..

(MR / MRS / MISS) FAMILY……………………………………………..      FIRST NAME       …………………………………………………… MIDDLE ……………………………………… NATIONALITY ………………. AGE ……….. YEAR HOLDER OF THE PASSPORT OR TRAVELLING DOCUMENT NO. ……………………………………….. DATE ……………… MONTH ………………….YEAR…………………

ISSUE AT …………………………………………………VALID UNTIL DATED …………… MONTH ………………… YEAR …………………

HERE BY AUTHORIZE (MR / MRS / MISS) NAME AND FAMILY NAME…………………………………………………………………………

AS OUR REPRESENTATIVE,WITH FULL AUTHORITY TO: ………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 ………………………………………………
SIGNATURE GRANTOR OF AUTHORIZATION

 ………………………………………………
SIGNATURE AUTHORIZATION REPRESENTATIVE

หนังสือมอบอํานาจ ภาษาอังกฤษ

หนังสือมอบอํานาจ ภาษาอังกฤษ

คำค้น : หนังสือมอบอํานาจ ดําเนินการแทน,เอกสารมอบอํานาจ,วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป,หนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป pdf,หนังสือมอบอํานาจ สรรพากร,หนังสือ มอบ อํา นา จ ประทับตรา บริษัท,ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจที่ดิน

มอบอํานาจ กับ มอบฉันทะ

หนังสือมอบอํานาจ กับ หนังสือมอบฉันทะ ต่างกันหรือไม่
แตกต่างกัน

การมอบฉันทะ หมายความถึง การมอบให้บุคคลทำธุระให้ด้วยความไว้วางใจโดยมีหลักฐานซึ่งการมอบฉันทะนั้น โดยทั่วไปมิใช่เป็นการใช้อำนาจของผู้มอบฉันทะอย่างหนึ่งอย่างใดหากแต่เป็นการขอให้ดำเนินการในเรื่องธุระทั่วไปให้เท่านั้น
การมอบอำนาจ ตามความหมายที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๙๗ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มีอำนาในทางกฎหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยชอบ และมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแทนตนเองเป็นการเฉพาะเรื่องหรือเป็นการทั่วไปภายในขอบเขตอำนาจที่ผู้มีอำนาจนั้นมี และภายในขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดไว้

เปลี่ยนผู้รับมอบอำนาจ

การเปลี่ยนแปลงผู้รับมอบอำนาจภายหลังทำได้หรือไม่
เมื่อมีการมอบ อำนาจโดชนิติบูคคลแล้ว ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนของนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาง
ฉบับเคิมยังคงมีผลสมบูรณ์หากไม่มีการยกเลิกการเป็นตัวแทน นอกจากนั้นการกระทำของตัวแทนก่อนมีการ

ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 253/2506 ประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1249

หนังสือมอบอํานาจต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

หนังสือมอบอํานาจให้ผู้อื่นกระทำการจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์ ทั้งนี้ราคาอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับว่ามอบหมายให้กระทำการอะไร

หนังสือมอบอํานาจ นิติบุคคล ติด อากรแสตมป์

1. กรณีผู้มอบอํานาจเป็นนิติบุคคล ผู้มอบอํานาจต้องครบถ้วนตามหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล เช่น กรรมการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสําคัญของบริษัท เป็นต้น และต้องแนบหนังสือรับรอง การจดทะเบียนนิติบุคคลมาด้วย
2. ถ่ายเอกสารหนังสือมอบอํานาจ (ที่ติดอากรแสตมป์ 1 ฉบับ) ติดอากร แสตมป์ 30 บาท

วิธีการมอบอำนาจของนิติบุคคลทำอย่างไร

การมอบอำนาจโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย เอกสารสำคัญที่จะต้องใช้ประกอบ ดังนี้

1. หนังสือรับรองนิติบุคคล ซึ่งนายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. ในหนังสือรับรองนิติบุคคลจะมีข้อความโดยย่อที่นายทะเบียนระบุไว้ว่า
– ใครผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
– จะต้องประทับตราของนิติบุคคลหรือไม่

ซึ่งคำเนินการของนิติบุคคลหรือการมอบอำนาจในนามนิติบุคคลจะต้องกระทำโดยผู้แทนของนิติบุคคลคังกล่าว

ผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลธรรมดา ได้หรือไม่

ผู้มอบอำนาจ หาเป็นบุคคลที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่บุคคลธรรมดาหรือ
นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมาย และ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1574/2524 หนังสือมอบอํานาจให้ฟ้องคดีแทนลูกจ้างซึ่งทำไว้ก่อนตั้งศาลแรงงาน ผู้รับมอบอำนาจนำมาฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็ได้ และฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องบิน

การมอบอำนาจคือไร

การมอบอำนาจ ตามความหายของ พระราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2542 หมายถึง การมอบหมายให้มีอำนาจจัดการหรือทำการแทน

พยานที่ลงลายมือในหนังสือมอบอํานาจคือใคร

ทรัพย์สินทางปัญญาได้กำหนดรูปแบบฟอร์มหนังสือมอบอํานาจไว้มีชื่อให้พยานลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งพยานที่ไป ลงชื่อเป็นพยานจะต้องเป็นพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ในการทำเอกสารหนังสือมอบอํานาจ

หนังสือมอบอำนาจ บุคคลธรรมดา

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอํานาจ

  • ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  • อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
  • ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง
  • อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  • ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อเท่านั้น จะใช้วิธีพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้

หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวการ

ตัวการย่อมมีผลผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำการใดๆที่ตัวแทนได้ทำไป ตามที่ตัวการได้มอบหมายให้ทำ

สรุป

การมอบอำนาจคืออะไร
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน หรือการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจ หรือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน

การมอบอำนาจเพื่ออะไร
หากบุคคลไม่สามารถไปกระทำการใดๆได้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการ จะต้องทำอย่างไร
– อาจทำหนังสือมอบอํานาจ หรือใบมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลอื่นเป็น “ตัวแทน” ไปกระทำการแทนได้โดย หนังสือมอบอํานาจนี้ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเก็บไว้เก็บหลักฐาน

การมอบอำนาจทำอย่างไร
– การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ ตัวอย่างเช่น การจัดการเกี่ยวกับที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ตามมาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทน บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดั่งนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้
  • ตามมาตรา 798 กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย สัญญาตัวแทนไม่มีแบบทำด้วยวาจาก็ได้แต่ถ้ากฎหมายกำหนดว่ากิจการใดต้องทำเป็นหนังสือการตั้ง ตัวแทนไปทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือ

ตัวอย่าง เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ เวลาตั้งตัวแทนไปทำสัญญา เช่าทรัพย์ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือสัญญาประนีประนอมยอมความต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน ประนีประนอมก็ต้องทำเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน หากมีการฝ่าฝืนมาตรา 798 จะถือว่าสัญญาตัวแทนไม่เกิดขึ้น สิ่ง ที่ตัวแทนกระทำจะไม่ผูกพันตัวการ

  • ตามมาตรา 801 วางหลักว่า ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทน ตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ ขายหรือจำนอง อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไปให้ประนีประนอมยอมความ ยื่นฟ้องต่อศาล มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

หากต้องการใช้กับตัวแทนที่ต้องทำหลายอย่าง เช่น ตั้งตัวแทนจัดการธุรกิจ ต้องจัดการหลายอย่างทั้งการติดต่อซื้อ ขายสินค้า การติดต่อพนักงานทำความสะอาดร้าน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นบางเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา 801 ถ้ามีการฝ่าฝืน การกระทำนั้นก็จะไม่ผูกพันตัวการและถ้ามีค่าใช้จ่ายในการกระทำการตัวการก็ไม่ ต้องจ่ายคืนให้ตัวแทน แต่อย่างไรก็ตามสามารถตกลงยกเว้น

  • มาตรา 801 ให้ตัวแทนกระทำการได้ทั้งหมดโดยไม่มี ข้อจำกัดได้เพราะไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือตัวการอาจมอบอำนาจเฉพาะการให้ตัวแทน กระทำการตามวรรค2 ของมาตรา 801 ก็ได้
  • หนังสือมอบอํานาจเฉพาะการ เป็นการมอบอำนาจให้ทำเพียงในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้กิจที่ได้รับมอบหมายนั้นสำเร็จลุล่วง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 ตัวอย่าง เช่น ก มอบหมายให้ ข ไปซื้ออาหารให้ ข จ่ายเงินซื้ออาหารไปราคาเท่าไร ก ก็ต้องจ่ายคืนให้เท่านั้นตาม มาตรา 816 แต่ถ้า ข ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อถุงใส่อาหารด้วย ก ก็ต้องจ่ายคืนให้ ก เพราะเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องจ่าย

หนังสือมอบอํานาจ
หนังสือมอบอํานาจ